เตรียมเป๋าฉีก! ค่าไฟงวดสิ้นปีส่อแพงขึ้น เหตุจ่ายหนี้กฟผ.-ปตท.-บาทอ่อน

2024-07-09    HaiPress

ค่าไฟงวดใหม่สิ้นปี ก.ย.-ธ.ค. ส่อแพงขึ้น สารพัดปัจจัยรุม ทั้งต้องจ่ายหนี้ กฟผ.-ปตท.-บาทอ่อน พรุ่งนี้จ่อเคาะ 3 ราคาใหม่ ก่อนเปิดฟังเสียงประชาชนเลือกเหลือหนึ่งเดียว ส่วนสุดท้ายรัฐจะตรึงต่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับหางบประมาณโปะ

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เตรียมประชุมบอร์ดในวันที่ 10 ก.ค. นี้ หนึ่งในวาระสำคัญจะมีการพิจารณาอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือเอฟที งวดใหม่ ก.ย.-ธ.ค. 67 หรือค่าไฟงวดสุดท้ายของปีนี้ เบื้องต้นคาดว่า จะต้องปรับเพิ่มขึ้นอีกประมาณหน่วยละ 20-40 สตางค์ จากค่าไฟงวดปัจจุบันอยู่ที่หน่วยละ 4.18 บาท เนื่องจากหลายปัจจัยหลัก ทั้งการทยอยคืนชำระหนี้ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ตัวเลขล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 98,000 ล้านบาท ซึ่ง กฟผ. มีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ย และมีหนี้ค่าเชื้อเพลิงที่ต้องทยอยคืนให้กับ บมจ.ปตท. ที่รับภาระไปงวดก่อนหน้านี้ด้วย

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยจากค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงต่อเนื่อง กระทบกับราคาซื้อก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งแนวโน้มความต้องการก๊าซฯ ที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาวส่งผลให้ราคาในตลาดเพิ่มขึ้น จากหลายปัจจัยจึงส่งผลให้ค่าเอฟทีงวดนี้ มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น หลังจากบอร์ด กกพ. มีมติรับทราบภาระต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจริง และเห็นชอบการคำนวณประมาณการค่าเอฟทีงวดสุดท้ายของปีแล้ว จะให้ กกพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใน 3 ทางเลือกต่อไป ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะประกาศผลการพิจารณาก่อนสิ้นเดือน ก.ค. นี้

“ถ้าดูจากปัจจัยหลายๆ แล้วต้องยอมรับว่า ค่าไฟงวดสุดท้ายของปี 67 มีแนวโน้มปรับขึ้น โดยเฉพาะประเด็นที่ กฟผ. ไปกู้เงินมาช่วยประชาชนไปก่อน มีภาระต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย งวดละหลายร้อยล้านบาท หากยิ่งชำระคืนหนี้ให้ กฟผ. ช้า จะยิ่งทำให้ต้อง กฟผ. ต้องแบกรับภาระจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม ถ้าปล่อยจะไปนานๆ จะกระทบกับเรตติ้ง กฟผ. ได้ และที่ผ่านมาหลังจากรัฐบาลได้ช่วยเหลือค่าไฟกลุ่มเปราะบาง ลดค่าไฟเหลือหน่วยละ 3.99 บาท ส่งผลให้การใช้ไฟเดือน เม.ย. 67 พุ่งขึ้นถึง 20% เทียบกับ เม.ย. ของปี 66 ส่วนหนึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ค่าไฟถูก ทำให้ประชาชนไม่ค่อยมีการประหยัดการใช้ไฟมากนัก จะยิ่งไม่ดีในระยะยาว”

ส่วนกรณีถ้าสุดท้ายแล้ว กกพ. มีมติเห้นชอบให้ปรับขึ้นค่าเอฟที เพื่อสะท้อนต้นทุน และลดภาระให้ กฟผ. แต่รัฐบาลยังต้องการตรึงราคาค่าไฟงวดสุดท้ายให้อยู่ที่หน่วยละ 4.18 บาทตามเดิม เพื่อไม่ให้กระทบกับค่าครองชีพประชาชน ก็ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลในการหางบประมาณ หรือหาแนวทางมาช่วยเหลือ

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

ลิงค์ที่เป็นมิตร

Back to top
©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 เครือข่ายชีวิตไทย      ติดต่อเรา   SiteMap