ไทยผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม เปิดข้อมูล LGBTQ+ ทั่วโลกนิยมเที่ยวไทย

2024-06-21    HaiPress

ไทยประเทศแรกอาเซียน ผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม เปิด 5 จังหวัดกลุ่ม LGBTQ+ ชาวต่างชาตินิยมเที่ยวไทยมากที่สุด สาเหตุเพราะอะไร?

ภายหลังที่ประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 พิจารณาเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ …) พ.ศ. … หรือ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ทำให้ประเทศไทยเป็นชาติแรกในอาเซียน เป็นแห่งที่ 3 ของทวีปเอเชีย และแห่งที่ 38 ของโลก ที่จะมีกฎหมายสมรสเท่าเทียม

ทั้งนี้ ในช่วงปี 2561-2562 ไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQ+ ทั่วโลก เป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชีย (6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และอันดับ 4 ของโลก รองจาก สหรัฐอเมริกา (25.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ),สเปน (8.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และฝรั่งเศส (7.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ข้อมูลจาก “เทอร์ร่า บีเคเค” ระบุว่า กลุ่ม LGBTQ+ ทั่วโลกมีพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวอย่างน้อยปีละ 3-4 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป 7 เท่า ส่วนใหญ่นิยมเดินทางมาเพื่อประกอบกิจกรรมที่ตนสนใจ ได้แก่ ถ่ายรูปเช็กอินร้านอาหารหรือจุดเด่นสำคัญ กีฬากลางแจ้งหรือกิจกรรม Soft Adventure รวมทั้งการท่องเที่ยวกลางคืน (Nightlife) นิยมสินค้าด้านความบันเทิงและสันทนาการ 

รวมไปถึงสินค้าด้านHealth and wellnessซึ่งเป็นสินค้าที่ตรงตามความต้องการเสนอขายของไทย อีกทั้งชาวLGBTQ+ใส่ใจสิ่งแวดล้อมกว่าคนทั่วไปถึง2เท่า

สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวของชาวต่างชาติที่ได้รับความนิยมของกลุ่มLGBTQ+ในประเทศไทย5จังหวัด ได้แก่

1.กรุงเทพฯ

2.เชียงใหม่

3.ภูเก็ต

4.เกาะสมุย (จ.สุราษฎ์ธานี)

5.พัทยา (จ.ชลบุรี)

สาเหตุ 5 จังหวัดที่นิยมเพราะอะไร? เนื่องจากมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น ภูเขา ทะเล และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน มีแหล่งท่องเที่ยวกลางคืนที่สอดรับกับไลฟ์สไตล์กลุ่มนี้ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศยุโรปที่หนีความวุ่นวายจากการทำงานมาพักผ่อนในไทย

ขณะที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้เล็งเห็นโอกาสในการส่งเสริมตลาด จึงได้ร่วมกับพันธมิตรเฉลิมฉลองเดือนแห่งPrideอย่างยิ่งใหญ่ ในช่วงเดือนPride Monthด้วยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทยในการเป็นPride Friendly Destinationและพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย

ที่มา : “เดลินิวส์” รวบรวม ณ วันที่ 19 มิ.ย. 67

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

ลิงค์ที่เป็นมิตร

Back to top
©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 เครือข่ายชีวิตไทย      ติดต่อเรา   SiteMap