คนไทยกว่า 60% รายจ่ายมากกว่ารายได้ โควิดสร้างแผลเป็นหนี้

2025-02-08    IDOPRESS

นายแบงก์ ชี้คนไทยกว่า 60% มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ผลพวงวิกฤติโควิดสร้างแผลเป็นหนี้

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอสซีบี เอกซ์ เปิดเผยในงานสัมมนา “Thailand Economic DRIVES 2025” จัดโดย Posttoday ระบุว่า คนไทยกว่า 60% มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ส่วนหนึ่งปัญหาจาก 4-5 ปีที่ผ่านมา ไทยได้รับผลกระทบรุนแรงจากโควิด และเป็นประเทศที่เติบโตเศรษฐกิจหรือจีดีพีช้า เมื่อเทียบกับประเทศอื่นทั่วโลก ทำให้เมื่อรายได้หายไป จะให้คนมากู้เงินมากขึ้น ส่งผลให้เมื่อมีความอ่อนแอหลังโควิด ยิ่งทำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 90% ต่อจีดีพี สร้างแผลเป็นขนาดใหญ่ กระทบการเติบโตของประเทศไทยในระยะยาว

ทั้งนี้ ในการบริหารผลักดันประเทศไปข้างหน้า ต้องทำให้คนไทยมีรายได้ขึ้นมา มากกว่ามองในเรื่องการลดหนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือน หรือให้คนคืนหนี้ ซึ่งสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท หลักการคือการกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาไปพร้อมกัน ถือว่ามีความจำเป็นจริงๆ ซึ่งนอกจากแจกเงินแล้ว ยังมีการกระตุ้นการลงทุน ให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น และหมุนวนต่อไปเรื่องการลงทุน

นายอาทิตย์ กล่าวว่า ตัวเลขการเติบโตของสินเชื่อในปีที่ผ่านมา สินเชื่อธุรกิจเป็นบวก ส่วนเอสเอ็มอีรายย่อยภาพรวมไม่มีเติบโต แปลว่าตึงมือจนไม่สามารถก่อหนี้ได้ และเจอดอกเบี้ยที่สูงเข้าไปอีก ทำให้ไม่มีความสามารถ ทำให้ส่งผลเสียไปยังภาพอุตสาหกรรม อย่างเช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ตามไปถึงวัสดุก่อสร้าง กระทบต่อกันเป็นลูกโซ่

นายสันติธาร เสถียรไทย ที่ปรึกษาด้าน Future Economy สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยต้องหาโอกาสหาทางออกจากโลก และนำโลกเข้ามาสู่ไทย จากความขัดแย้งสงครามการค้า นโยบายของสหรัฐ และยังมีเรื่องเทคโนโลยี รวมทั้งความยั่งยืนต่างๆ ที่ไทยต้องหาโอกาส ซึ่งแม้ว่าสหรัฐอาจไม่ต้องกำแพงภาษี หรือปรับขึ้นภาษีนำเข้าจากไทย แต่ในเมื่อจีนสามารถผลิตกำลังการผลิตเหลือ ทำให้สินค้าทุกอย่างในจีนที่ผลิตออกมาเกินกำลัง ส่งผลให้สินค้าจีนจะทะลักเข้ามาในไทย เพราะไม่สามารถเข้าสหรัฐได้ ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตและเอสเอ็มอีไทย

“หลังจากนี้ สินค้าจีนเข้าสหรัฐไม่ได้ ก็จะเข้ามาไทยเยอะขึ้น และเข้ามาในอาเซียนเยอะขึ้น ทำให้การแข่งขันเข้มข้นขึ้นไปอีก แต่ในวิกฤติย่อมมีโอกาส สิ่งที่เห็นคือการโยกย้ายการลงทุนจากจีนเข้ามาอาเซียน และมาไทย โดยไทยโดดเด่นมากคือการดึงดูดคนเก่ง คนมีความสามารถ และต้องปรับตัวเรียนรู้เทคโนโลยีและเอไอ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลง”

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

ลิงค์ที่เป็นมิตร

Back to top
©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 เครือข่ายชีวิตไทย      ติดต่อเรา   SiteMap