ความน่าสนใจ ธนบัตรที่ระลึกครบรอบ 72 พรรษา ร.10 แลกได้ที่ไหน

2024-06-24    HaiPress

จุดเด่น ความน่าสนใจ ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 สามารถแลกซื้อได้ที่ไหน-เมื่อไหร่?

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำ ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ตลอดจนให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสแลกธนบัตรไว้เป็นที่ระลึก และมีส่วนร่วมในการแสดงความจงรักภักดี

รายละเอียดธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติฯ 72 พรรษา รัชกาลที่ 10

ชนิดราคา 100 บาท จำนวนทั้งสิ้น 10 ล้านฉบับสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายแลกซื้อในราคาฉบับละ 100 บาทแลกธนบัตรที่ระลึก 72 พรรษา รัชกาลที่ 10 ได้ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ แบงก์ชาติ ได้จัดทำแผ่นพับสำหรับธนบัตรที่ระลึก จำนวน 2 ล้านชุด จำหน่ายในราคาชุดละ 10 บาท โดยรายได้จากการจำหน่ายแผ่นพับทั้งหมด จะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย

ธนบัตรที่ระลึก 72 พรรษา รัชกาลที่ 10 แลกได้ที่ไหน?

ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งธนาคารออมสินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยศูนย์การเรียนรู้ แบงก์ชาติ

ความน่าสนใจ จุดเด่น : ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567

ธนบัตรด้านหน้า


พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์บรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ และทรงสายสร้อยปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ

ธนบัตรด้านหลัง


พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์บรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ประดับดารานพรัตน ทรงสายสร้อยปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ และทรงพระแสงกระบี่

ข้อมูลธนบัตรที่ระลึก 72 พรรษา รัชกาลที่ 10

ขนาดธนบัตรและความหมาย


กว้าง 89 มิลลิเมตร : เลข 9 สื่อความหมายถึงการครองราชย์ปีที่ 9


ยาว 163 มิลลิเมตร : มีผลรวมเท่ากับ 10 สื่อความหมายถึงพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี

ข้อมูลแผ่นพับบรรจุธนบัตรที่ระลึกฯ

ขนาด


เมื่อพับ: 129×203 มม.


เมื่อกางออก: 258×203 มม. โดยหน้าที่ 3 และ 4 เจาะช่องขนาด 94×168 มม. เพื่อยึดแผ่นเซลลูลอยด์สำหรับบรรจุธนบัตรที่ระลึกฯ

ธนบัตรที่ระลึก รัชกาลที่ 10 (ด้านหน้า)

พระบรมสาทิสลักษณ์ พิมพ์ทับบนลายพื้นสีเหลือบทอง


พระบรมสาทิสลักษณ์ ลายรัศมีเบื้องหลังพระบรมสาทิสลักษณ์ และลายหน้าครุฑประกอบลายช่อกระหนก พิมพ์ด้วยเส้นนูนสีน้ำตาลเข้ม จะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ องค์ประกอบทั้งหมดนี้รวมทั้งลายพรรณพฤกษาสีเหลืองและสีแดงซึ่งอยู่บริเวณเบื้องซ้ายและเบื้องขวาของพระบรมสาทิสลักษณ์ พิมพ์ทับบนลายพื้นสีเหลือบทองตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ลายช่อกระหนกที่รองรับตราสัญลักษณ์ฯ ตัวอักษรต่าง ๆ พิมพ์ด้วยสีน้ำตาลเข้ม ส่วนตัวเลขแจ้งชนิดราคา “100” และ “๑๐๐” พิมพ์ด้วยสีน้ำตาลเข้มและสีแดงช่องใสรูปพระครุฑพ่าห์ หมึกพิเศษสีทองภายในช่องใส


ช่องใสรูปพระครุฑพ่าห์ มีการพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษสีทอง และมีรูปพระครุฑพ่าห์สีขาวอยู่ภายในช่องใสลายประจำยามมุมซ้ายล่าง


ลายประจำยามที่มุมล่างซ้ายบนด้านหน้า พิมพ์ในตำแหน่งตรงกันกับด้านหลัง เมื่อยกธนบัตร ส่องกับแสงสว่างจะเห็นซ้อนทับกันสนิทช่องใสรูปแปดเหลี่ยม


ช่องใสรูปแปดเหลี่ยม มองเห็นทะลุได้ทั้งสองด้าน ภายในมีลายดอกพิกุลขนาดเล็กดุนนูน เป็นจุดสัมผัสสำหรับผู้บกพร่องทางสายตาภาพเงาอักษรพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. ด้านหน้า


ภาพเงาอักษรพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี มีลักษณะคล้ายลายน้ำ มองเห็นได้ทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่างชนิดราคา ๑๐๐ และ เส้นนูนสีใส 4 เส้น


ตัวเลขแจ้งชนิดราคา “๑๐๐” พิมพ์ทับด้วยเส้นนูนสีใส 4 เส้น จะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ เป็นจุดสัมผัสสำหรับผู้บกพร่องทางสายตาช่องใสรูปประจำยาม


ช่องใสรูปประจำยามที่เบื้องล่างขวา ภายในมีบางส่วนของลายดอกรวงผึ้งซึ่งพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงหรือพลิกซ้ายขวาจะเห็นรูปวงกลมเคลื่อนไหวไปมาได้รอบทิศทาง และเปลี่ยนสลับจากสีทองเป็นสีเขียวตัวอักษรจิ๋ว


แถบสีเหลืองและสีชมพูซึ่งพิมพ์ในแนวเฉียงที่ขอบธนบัตรเบื้องล่างทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ภายในมีข้อความ “ทรงพระเจริญ” ขนาดเล็กเรียงติดต่อกัน อ่านได้ชัดเจนโดยใช้แว่นขยายลักษณะภายใต้รังสีเหนือม่วง


พระบรมสาทิสลักษณ์ ลายช่อกระหนกที่รองรับตราสัญลักษณ์ฯ และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่อยู่โดยรอบขอบธนบัตร ได้แก่ ลายประดิษฐ์ ลายพรรณพฤกษา ภาพดอกรวงผึ้ง รวมทั้งแถบสีเหลืองซึ่งภายในมีข้อความ “ทรงพระเจริญ” จะเรืองแสงเป็นสีเหลืองภายใต้รังสีเหนือม่วงตัวเลข ๑๐๐ เรืองแสงสีแดง


ตัวเลขแจ้งชนิดราคา “100” และ “๑๐๐” พื้นลายไทยสีแดงอ่อนบริเวณเบื้องบนและเบื้องล่างของพระบรมสาทิสลักษณ์ และบางส่วนของลายประจำยามประกอบลายช่อกระหนก ที่มุมล่างซ้าย จะเรืองแสงเป็นสีแดงภายใต้รังสีเหนือม่วงภาพดอกรวงผึ้งและลายดาว สีเขียวอมเหลืองภายใต้รังสีเหนือม่วง


บริเวณเบื้องล่างของพระบรมสาทิสลักษณ์จะปรากฏภาพดอกรวงผึ้งและลายดาวสีเขียวอมเหลืองเรืองแสงภายใต้รังสีเหนือม่วงหมวดอักษรเลขหมาย เรืองแสงสีส้ม


หมวดอักษรและเลขหมายไทยจะเปลี่ยนเป็นสีส้มเรืองแสงภายใต้รังสีเหนือม่วง

ธนบัตรที่ระลึก รัชกาลที่ 10 (ด้านหลัง)

ดอกรวงผึ้ง พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ


ลายดอกรวงผึ้งสีทองที่เบื้องล่างซ้าย พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงหรือพลิกซ้ายขวาจะเห็นรูปวงกลมเคลื่อนไหวไปมาได้รอบทิศทาง และเปลี่ยนสลับจากสีทองเป็นสีเขียวตัวอักษรจิ๋ว


แถบสีเหลืองและสีชมพูซึ่งพิมพ์ในแนวเฉียงที่ขอบธนบัตรเบื้องล่างทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ภายในมีข้อความ “ทรงพระเจริญ” ขนาดเล็กเรียงติดต่อกัน อ่านได้ชัดเจนโดยใช้แว่นขยายข้อความ ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


พระบรมสาทิสลักษณ์ และข้อความ “ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗” พิมพ์ด้วยสีน้ำตาลเข้มจุดเรืองแสงเป็นสีเหลืองภายใต้รังสีเหนือม่วง


ลายประดิษฐ์ ลายไทย ภาพดอกราชพฤกษ์ และแถบสีเหลืองซึ่งภายในมีข้อความ “ทรงพระเจริญ” ทั้งหมดนี้อยู่บริเวณขอบธนบัตรเบื้องซ้ายและเบื้องขวา จะเรืองแสงเป็นสีเหลืองภายใต้รังสีเหนือม่วง

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

ลิงค์ที่เป็นมิตร

Back to top
©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 เครือข่ายชีวิตไทย      ติดต่อเรา   SiteMap